หลวงพ่อเดิม จังหวัดนครสวรรค์

ความศักดิ์สิทธิ์และตำนานหลวงพ่อเดิม

หลวงพ่อเดิม หรือ พระครูนิวาสธรรมขันธ์ วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ. นครสวรรค์ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ ที่มีพลังจิต สูงมาก เชื่อกันว่า ท่านสำเร็จอภิญญา หรือฌานสมาธิขั้นสูง สามรถเรียกลม เรียกฝนได้ เครื่องรางของขลัง ของท่านเป็นที่ประจักกันดีว่ามีพุทธคุณด้านคงกระพัน และมหาอุดเป็นที่สุด ที่รู้จักกันดี และเป็นที่ปรารถนาของผู้ที่นิยมพระเครื่อง ของขลังเป็นที่สุด ก็คือ มีดหมอ พระเครื่องรูปเหมือนปั้ม และรูปเหมือนหล่อ เหรียญรูปไข่ พ.ศ. 2482 ที่เรียกว่าเหรียญบัวคว่ำ บัวหงาย ผ้ายันต์รอยเท้า และอื่นๆอีกมากมาย

พุทธคุณมีดหมอหลวงพ่อเดิม

วัดหนองโพ นั้นดีในทุกๆ เรื่อง เช่น เป็นมหาอุดอยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ป้องกันเขี้ยวงา ป้องกันคุณไสย การกระทำย่ำยี ป้องกันภูตผีปีศาจร้ายได้ มีผู้เคยมีประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้มามากมาย วิธีอาราธนามีดหมอของหลวงพ่อเดิมเวลาจะไปไหนมาไหนให้ระลึกถึงหลวงพ่อเดิมแล้วว่า “พระพุทธังรักษา พระธรรมมังรักษา พระสังฆังรักษา ศัตรูมาบีฑาวินาศสันติ” เท่านี้ก็พอครับ ส่วน คาถากำกับมีดหมอของหลวงพ่อเดิม นั้นมีดังนี้” สักกัสสะ วชิราวุทธัง เวสสุวันนะสะคะธาวุทธัง อาฬาวะกะธุสาวุทธัง ยะมะสะนัยนาวุทธัง ณารายยะสะจักกะราวุทธัง ปัญจะอาวุทธานัง เอเตสังอานุภาเวนะ ปัญจะอาวุทธานัง ภัคคะภัคขา วิจุณนัง วิจุณนาโลมังมาเมนะ พุทธะสันติ คัจฉะอะมุทหิ โอกาเสติฐาหิ” ส่วนข้อห้ามประจำมีดหมอของหลวงพ่อเดิมนั้น คือ ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต นอกจากจะป้องกันตัวเท่านั้น ห้ามนำมีดของท่านไปใช้ในทางที่ผิด เช่น รังแกคนอื่น อย่าเป็นชู้กับเมียคนอื่น ถ้าไม่จำเป็นอย่าให้สตรีที่มีรอบเดือนถูกมีดหมอของหลวงพ่อเดิม ในปัจจุบันมีดหมอของหลวงพ่อเดิมแท้ๆ นั้นหายากมาก มีบางคนหัวใสนำมีดหมอแท้ๆ ของหลวงพ่อเล่มเดียว แยกตัวมีดออกแล้วทำฝักและด้ามใหม่ ส่วนตัวฝักและด้ามของแท้นำใบมีดของใหม่มาประกอบ ทำให้มีดเล่มเดียวแต่แยกขายได้ถึงสองเล่มครับ มีคนเคยโดนมาแล้ว ปัจจุบันมีดหมอหลวงพ่อเดิมแท้ๆ นั้นมีสนนราคาแพงมากและหายากมาก

พิมพ์ A
จุดในการพิจารณารูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ พิมพ์ A ( นิยม ) ฐานเหลี่ยม เนื้ออัลปาก้ารายละเอียดทุกส่วนคมชัดเพราะเป็นการปั๊มในคราวแรก

1. คำว่าหลวงพ่อเดิม “เดิม” ตัว “ด” และสระ “อิ” จะแยกจากกันชัดเจนสระอิเป็นเส้นไม่แตก

2.ในองค์ที่ปั๊มคมชัดจะเห็นเส้นขนแมวในซอกแขนขวาสองเส้นเป็นตัว “วี”

3.ไม่มีเนื้อเกินในซอกแขนขวา (ด้านหลัง)

4. ชายสังฆาฏิจะมีเนื้อเกินต่อฐาน (แม่พิมพ์ส่วนนี้เริ่มแตกแล้ว)

5.ใบหูหลวงพ่อด้านหลังจะแต่งเป็นเหลี่ยม

6. ฐานด้านหลังเริ่มมีการแต่งตะไบเป็นเหลี่ยมเล็กน้อยและไม่เคยพบว่าพิมพ์นี้มีการรมดำ

7. ด้านหน้าคำว่าหลวงพ่อเดิมหัวมุมฐานด้านล่างส่วนใหญ่จะมนยุบเล็กน้อย

8. จุดสำคัญ การตกแต่งริ้วจีวร ด้านข้างองค์พระ ต้องไม่มีรอยเลื่อยของตะไบ เพราะใช้มีดแทงทอง แต่งริ้วจีวร

พิมพ์ เป็นรูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อเต็มองค์นั่งสมาธิเหนืออาสนะฐานเขียง ลักษณะเป็นธรรมชาติ เส้นหน้าผากเป็นร่องลึก มีรอยบุบตรงกลางรายละเอียดบนใบหน้าคม ชัดเจน “คางแบบคางคน” ช่วงกลางของสังฆาฏิ มีลักษณะเป็นร่องลึกพาดขวาง, รอยย่นและกลีบจีวรเป็นธรรมชาติในพิมพ์ ไม่มีการใช้ตะไบตกแต่ง ด้านหน้าฐานจารึกอักษรไทยว่า “หลวงพ่อเดิม” ซึ่งตรงปลายตัว “ว” จะมีติ่งเล็กๆและใต้ฐานลงเหล็กจารอักขระโดยลูกศิษย์ของหลวงพ่อ อาทิ หลวงพ่อโอน วัดโคกเดื่อ, หลวงพ่ออ๋อย วัดหนองบัว และ หลวงพ่อน้อย วัดหนองโพ แต่ส่วนใหญ่ที่พบมักเป็นลายมือจารของหลวงพ่อน้อย ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าเพราะสวยงามและจดจำง่าย

พิมพ์ จุดพิจารณาที่แยกเป็นพิมพ์ เอ บี ซี ดี นั้นเกิดจากบล็อกแม่พิมพ์มีเพียงตัวเดียว ช่างจะแกะรายละเอียดของบล็อกทั้งด้านหน้าและด้านหลังเพียงชุดเดียว เมื่อผ่านการปั๊มไปบ่อยเข้า แม่พิมพ์เกิดการชำรุดแตก ทำให้การปั๊มในครั้งต่อมาขาดในรายละเอียด ทำให้ความคมชัดน้อยลง

พิมพ์ D จุดสังเกตจะคล้ายๆกับพิมพ์ A B C เพราะใช้แม่พิมพ์แบบเดียวกัน 

วิธีดูรูปหล่อหลวงพ่อเดิม (รูปหล่อพิมพ์ฐานสูง)

พิมพ์นี้การสร้างเช่นเดียวกับรูปหล่อพิมพ์ฐานเตี้ยทุกประการแตกต่างกันที่แม่พิมพ์ฐานสูงนี้ ใบหน้าหลวงพ่อจะเรียวเล็กเป็นรูปไข่ตลอดจนองค์พระจะแลดูชะลูดกว่าพิมพ์ฐานเตี้ย บริเวณฐานคำว่าหลวงพ่อเดิม ตัว “อ”จะคล้าย”จ”และจะมีเนื้อยื่นต่อลงมาใต้คำว่าหลวงพ่อเดิม จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ ด้านข้างของรูปหล่อพิมพ์ฐานสูงนี้ส่วนใหญ่จะมีรอยแต่งตะเข็บด้านข้างให้เป็นริ้วจีวรและบริเวณตะโพกด้านหลังติดฐานก็มีการแต่งเช่นเดียวกัน (มีส่วนน้อยที่ไม่มีการแต่ง) และการแต่งริ้วตะเข็บข้างนี้ก็มีทั้งชนิดแต่งในขณะที่เป็นหุ่นเทียนถ้าแต่งในลักษณะนี้เมื่อพิจารณาด้วยกล้องจะไม่มีความคมของเครื่องมือแต่จะปรากฏคราบเบ้าคลุมนี่เป็นจุดพิจารณาจุดหนึ่ง แต่ถ้าเป็นชนิดที่แต่งเมื่อเทหล่อแล้วเสร็จจะเห็นเป็นรอยแต่ง(นักนิยมสะสมพระมักเรียกว่ารอยแทงตะไบแต่รอยที่เห็นนี้มิใช่เป็นรอยตะไบแต่เป็นเครื่องมือช่างอีกแบบเรียกว่าเหล็กแทงทอง)ตะเข็บและริ้วจีวรตะโพกใต้ฐานช่างจะแต่งตะไบเรียบส่วนใหญ่มักจะปรากฏเหล็กจาร “พุฒซ้อน” หรือที่เรียกว่า “พระเจ้าอมโลก”ไว้
ยังไม่เคยพบว่าพิมพ์ฐานสูงมีการเจาะบรรจุเม็ดกริ่งเหมือนพิมพ์ฐานเตี้ยบางองค์

1. พิมพ์ฐานสูงนี้ ใบหน้าหลวงพ่อจะเรียวเล็กเป็นรูปไข่ตลอดจนองค์พระจะแลดูชะลูดกว่าพิมพ์ฐานเตี้ย

2. บริเวณฐานคำว่าหลวงพ่อเดิม ตัว “อ” จะคล้าย “จ”

3. บริเวณฐานคำว่าหลวงพ่อเดิม จะมีเนื้อยื่นต่อลงมาใต้คำว่าหลวงพ่อเดิม จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ฐานสูง

4. ด้านข้างของรูปหล่อพิมพ์ฐานสูงนี้ส่วนใหญ่จะมีรอยแต่งตะเข็บด้านข้างให้เป็นริ้วจีวรและการแต่งริ้วตะเข็บข้างนี้ก็มีทั้งชนิดแต่งในขณะที่เป็นหุ่นเทียนถ้าแต่งในลักษณะนี้เมื่อพิจารณาด้วยกล้องจะไม่มีความคมของเครื่องมือแต่จะปรากฏคราบเบ้าคลุมนี่เป็นจุดพิจารณาจุดหนึ่ง แต่ถ้าเป็นชนิดที่แต่งเมื่อเทหล่อแล้วเสร็จจะเห็นเป็นรอยแต่ง(นักนิยมสะสมพระมักเรียกว่ารอยแทงตะไบ
แต่รอยที่เห็นนี้มิใช่เป็นรอยตะไบ แต่เป็นเครื่องมือช่างอีกแบบเรียกว่าเหล็กแทงทอง)

5. บริเวณตะโพกด้านหลังติดฐานก็มีการแต่งเช่นเดียวกัน (มีส่วนน้อยที่ไม่มีการแต่ง)

6. ใต้ฐานช่างจะแต่งตะไบเรียบส่วนใหญ่มักจะปรากฏเหล็กจาร “พุฒซ้อน” หรือที่เรียกว่า
“พระเจ้าอมโลก”ไว้ ยังไม่เคยพบว่าพิมพ์ฐานสูงมีการเจาะบรรจุเม็ดกริ่งเหมือนพิมพ์ฐานเตี้ยบางองค์

วิธีดูรูปหล่อหลวงพ่อเดิม (รูปหล่อพิมพ์ฐานเตี้ย)

ลักษณะใบหน้าหลวงพ่อคล้ายผลมะตูม รายละเอียดทุกส่วนคมชัดส่วนบริเวณสังฆาฏิจะมีเส้นจมคาดกลางในบางองค์จะเห็นช่างแต่งตะไบเส้นนี้ ใต้คำหลวงพ่อเดิมจะไม่มีเนื้อยื่นต่อลงจึงเป็นที่มาของพิมพ์ฐานเตี้ย(แต่มีบางองค์อาจมีเนื้อยื่นลงมาเล็กน้อยแต่ให้แยกพิมพ์ที่ใบหน้าจะชัดเจน) ใต้ฐานส่วนใหญ่เรียบไม่ค่อยพบว่ามีการลงเหล็กจารในบางองค์นายช่างจะทำการเจาะอุดเม็ดกริ่งซึ่งส่วนนี้จะพบเห็นน้อยมากส่วนมากรูปหล่อฐานเตี้ยนี้ถ้าอยู่ในสภาพเดิมส่วนมากจะเห็นผิวเงินคลุมทั่วองค์พระแต่ในบางองค์ตามซอกจะเห็นคราบดำซึ่งก็คือน้ำยารมดำนั่นเอง(พระเนื้อทองเหลืองส่วนใหญ่น้ำยารมดำจะรมไม่ติดจะเหลืออยู่แค่ตามซอกลึกเท่านั้น) รูปหล่อพิมพ์ฐานเตี้ยนี้จะไม่ค่อยปรากฏว่าช่างแต่งตะเข็บข้างและใต้ฐานส่วนใหญ่ไม่พบว่ามีการลงเหล็กจาร

1. ลักษณะใบหน้าหลวงพ่อคล้ายผลมะตูม

2. บริเวณสังฆาฏิจะมีเส้นจมคาดกลางในบางองค์จะเห็นช่างแต่งตะไบเส้นนี้

3. ใต้คำหลวงพ่อเดิมจะไม่มีเนื้อยื่นต่อลงจึงเป็นที่มาของพิมพ์ฐานเตี้ย (แต่มีบางองค์อาจมีเนื้อยื่นลงมาเล็กน้อย แต่ให้แยกพิมพ์ที่ใบหน้าจะชัดเจน)

วิธีดูพระรูปเหมือนปั๊ม
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ พิมพ์ ”คอตึง”

พระรูปเหมือนปั๊มพิมพ์คอตึง ของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ แม้ว่านักสะสมจะกำหนดค่าความนิยมเอาไว้เป็นรอง พิมพ์นิยม ก็ตามที แต่ก็ต้องยอมรับว่าพิมพ์คอตึงนี้ เล่นง่ายดูง่ายกว่าพิมพ์นิยมอยู่มากพอสมควร เพราะมีเพียง 1 เนื้อ 2 บล็อก เท่านั้นเองแถมยังมีประสบการณ์มากจริงๆ ถ้าจะคิดเสาะหามาไว้ติดตัวแล้วละก็ เลือก “พิมพ์คอตึง” แน่นอนกว่า นักเลงรุ่นพ่อว่าไว้อย่างนั้น

พระรูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อเดิม พิมพ์คอตึงนี้ สร้างก่อนพิมพ์นิยมครับ มีเฉพาะ เนื้อทองเหลือง แบ่งออกเป็น บล็อกด้วยกัน จุดสังเกตความแตกต่างระหว่าง 2 บล็อก คือ

1.พิมพ์คอตึง ง.งู หางสั้น ตัว ง. งู ตรงคำว่า “หลวง” หางตัว ง. งู จะอยู่ในระดับแค่กึ่งกลางของตัว ว.แหวน นอกจากนี้กึ่งกลางตัว ว.แหวน จะมีขีดขวางวิ่งไปจรดตัว ล.ลิง

2.พิมพ์คอตึง ง.งู หางยาว บล็อกนี้หางตัว ง.งู จะยาวขึ้นไปเกือบอยู่ในแนวเดียวกับหัวของตัว ว.แหวน โดยที่ตัว ว. นั้นจะไม่มีขีดขวางเหมือนบล็อกแรก

ด้านหลังของหลวงพ่อเดิมพิมพ์นี้เหมือนกับพิมพ์นิยมบล็อกแตก เลยมีนักสะสมหลายท่านตั้งข้อสังเกตว่า พิมพ์คอตึง อาจสร้างภายหลัง พิมพ์นิยม ก็ได้แต่ตามประวัติการสร้างแล้วระบุไว้ว่า
พิมพ์คอตึงสร้างก่อนการเล่นหาสะสม “พระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเดิมพิมพ์คอตึง “มีหลักการพิจารณาในเบื้องต้นคล้ายกับพิมพ์นิยมดังนี้

1.เป็นพระรูปเหมือนปั๊มกระแทกดังดั้นจึงมีความคมชัดมาก เส้นสายลายละเอียดดูชัดเจนไม่เบลอ

2.ผิวโลหะมีความเรียบแน่น ตึง ไม่มีรูพรุนอากาศแบบพระหล่อ

3.ตัวอักษรที่เขียนว่า”หลวงพ่อเดิม” ตัวหนังสืออาจปั๊มไม่ติดหรือมีรอยบุบบู้บี้อันเกิดจากแรงกระแทก เนื่องจากตัวหนังสือเป็นส่วนที่นูนออกมาจึงเป็นจุดที่ได้รับแรงกระแทกมากเป็นพิเศษ
แต่ก็ไม่เป็นทุกองค์มีบางองค์ที่ปั๊มติดสวยๆ

จุดตำหนิในการดู หลวงพ่อเดิมพิมพ์คอตึง ง.งู หางสั้น

1.เม็ดนัยน์ตาติดชัดเจน ไม่ตื้นเบลอ ตาซ้ายอยู่ต่ำกว่าตาขวา

2.ริ้วจีวรที่พาดแขนซ้ายมีเส้นขนแมวอยู่ในร่องจีวร

3.หางตัว พ. มีขีดเฉียงขึ้น

4.หางตัว ง. งู สั้นแค่ครึ่งของตัว ว.แหวน และมีเส้นพาดขวางที่กลางตัว ว.แหวน

5.มีเส้นขีดขวางแนวนอนพาดผ่านผ้าสังฆาฎิไปหาริ้วจีวร

6.ใต้รักแร้ขวาของหลวงพ่อเดิม มีเส้นขีด 2 เส้นเชื่อมไปจรดจีวร

จุดตำหนิในการดู หลวงพ่อเดิมพิมพ์คอตึง ง. งู หางยาว

1.ภายในร่องโค้งผ้าสังฆาฏิมีขีดในแนวนอน

2.รอยพับที่ผ้าสังฆาฏิลึกและร่องใหญ่กว่าพิมพ์ ง. งู หางสั้น

3.หางตัว “ง” ยาวเสมอมุมหักของตัว “ว”

4.เส้นลำคอของหลวงพ่อเดิม เล็กและแคบกว่าพิมพ์ “ง” หางสั้นด้านหลังพระนั้นมีความชัดเจนมากโดยเฉพาะ”ริ้วจีวร”นั้น ที่ขาซ้าย-ขวาด้านหลังจะมีร่องรอยตกแต่งด้วยตะไบ มีร่องรอยการขูดเซาะคล้ายๆสามเหลี่ยม ตลอดจนมีรอยงัด ที่ข้อศอกเป็นร่องเช่นกันเพื่อตกแต่งรอยตะเข็บข้างในซอกข้อศอกออกไป